นโยบายและผลการดำเนินงานของรัฐบาล ของ คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 59

รัฐบาลได้ดำเนินการตามนโยบายเร่งด่วน ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ส่วน คือ

  • การแก้ไขปัญหาและบรรเทาผลกระทบเศรษฐกิจที่มีต่อประชาชน ได้แก่ โครงการเรียนฟรี 15 ปี เบี้ยเลี้ยงชีพผู้สูงอายุ เช็คช่วยชาติ ต้นกล้าอาชีพ ชุมชนพอเพียง ธงฟ้าช่วยประชาชน โครงการ 5 มาตรการ 6 เดือน ช่วยค่าครองชีพ โครงการ 3 ลด 3 เพิ่มแก้ปัญหาว่างงาน โครงการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตร โครงการ อสม.เชิงรุก และโครงการช่วยเหลือ SMEs
  • สร้างความเชื่อมั่น ฟื้นฟูภาพลักษณ์ของประเทศไทย และสร้างความสมานฉันท์ ได้แก่ การฟื้นฟูความเชื่อมั่นประเทศไทย มาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยว การสร้างความสมานฉันท์ การปฏิรูปการเมือง และการแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
  • การวางรากฐานการพัฒนาในอนาคต ได้แก่ การพัฒนาแหล่งน้ำ รถไฟฟ้า 5 สาย ถนนปลอดฝุ่น การปรับปรุงสถานีอนามัย และ 5 รั้วป้องกันยาเสพติด
  • แก้ไขปัญหาเร่งด่วนเฉพาะหน้า ได้แก่ 2 ลด 3 เร่ง ยุทธศาสตร์รับ-รุกไข้หวัดใหญ่
  • ดำเนินการตามคำเรียกร้องของประชาชน

เรียนฟรี 15 ปี

รัฐบาลให้ความสำคัญในการจัดการศึกษา โดยมุ่งเน้นการส้รางโอกาสทางการศึกษาให้ทุกคนได้มีโอกาสเท่าเทียมกัน โดยจัดสรรงบประมาณจำนวน 19,296,100,000 บาท เพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาให้ทุกคนได้รับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายอย่างเท่าเทียมกัน 15 ปี ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งครอบคลุมค่าใช้จ่าย 5 รายการ ได้แก่ ค่าเล่าเรียน ค่าหนังสือเรียน ค่าเครื่องแบบนักเรียน อุปกรณ์ ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งในปัจจุบันได้มีการดำเนินการไปแล้วร้อยละ 77 หรือเป็นเงินประมาณ 18,575,470,000 บาท ส่วนหนึ่งยังมีผู้ปกครองที่มีรายได้พอสมควรไม่ประสงค์จะรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายดังกล่าว เพื่อเปิดโอกาสให้รัฐบาลนำเงินในส่วนนี้ไปช่วยในการพัฒนาโรงเรียนในถิ่นธุรกันดาร 577 โรง รวมเป็นเงินประมาณ 40 ล้านบาท[6]

เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

รัฐบาลต้องการสร้างหลักประกันรายได้ เป็นการตอบแทนการทำงานหนักมาตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ โดยการจ่ายเงินค่ายังชีพ จำนวน 500 บาท ต่อเดือน ให้แก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป[7]

อสม. เชิงรุก

รัฐบาลเห็นความสำคัญของการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ซึ่งมีอยู่ 987,019 คนทั่วประเทศ ให้ได้รับเงินค่าสวัสดิการตอบแทน (ค่าป่วยการ) ในอัตราคนละ 600 บาทต่อเดือน[8]

การประกันรายได้เกษตรกร

โครงการประกันรายได้เกษตรกร มีเกษตรกรที่ทำสัญญาประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จำนวน 3.95 ล้านราย ซึ่งสูงกว่าโครงการจำนำรายได้ ที่มีเกษตรกรเข้าร่วมเพียง 0.91 ล้านราย[9]

การนำที่ดินราชพัสดุเพื่อให้เกษตรกรเช่าทำการเกษตร

การนำที่ดินราชพัสดุจำนวน 1 ล้านไร่ เพื่อให้เกษตรกรเช่าทำการเกษตร ได้ดำเนินการแล้วในปี พ.ศ. 2552 จำนวน 114,376 ไร่ จำนวนเกษตรกร 6,894 ราย

การดูแลสุขภาพ

อภิสิทธิ์สานต่อนโยบายเกี่ยวกับมาตรการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยาของรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เรียกร้องให้ปฏิบัติตามข้อตกลงขององค์การการค้าโลก ในเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 เขาเตือนว่าสิทธิบัตรยาที่อยู่ในสภาวะถูกกดดันอย่างนี้อาจบานปลายมากยิ่งขึ้น ถ้าหากว่าสหรัฐอเมริกาทำสภาพการค้าของประเทศไทยให้ตกต่ำลง[10]

การออกกฎหมาย

พรรคประชาธิปัตย์ภายใต้การนำของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เสนอกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่เพิ่มโทษหนักกว่าเดิม ซึ่งจะทำให้ทัศนคติของบุคคลที่ดูหมิ่นและมีความต้องการให้ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยบนอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นความผิดทางอาญา มีโทษจำคุก 3 - 20 ปี หรือปรับ 200,000 - 800,000 บาท[11] ในเวลาเดียวกัน พรรคประชาธิปัตย์กล่าวหาว่ามี 29 เว็บไซต์ที่มีเนื้อหาและข้อความแสดงความคิดเห็นที่เข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งทางพรรคประชาธิปัตย์เชื่อว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์.[12]คณะรัฐมนตรีคณะนี้ยังเป็นคณะแรกที่ใช้กฎหมาย พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย

วิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ:

การตรวจสอบขบวนการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

การตรวจตราขบวนการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพภายใต้รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะโดยเปรียบเทียบรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร[13] อภิสิทธิ์จัดตั้งกองกำลังทหารเฉพาะกิจที่คอยต่อสู้กับอันตรายจากความคิดเห็น ที่พิจารณาถึงบทบาทสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยในทางการเมือง รัฐบาลอภิสิทธิ์เปิดเว็บไซต์ที่ส่งเสริมให้ประชาชนแจ้งเว็บไซต์ผิดกฎหมาย มีเว็บไซต์กว่า 4,800 เว็บไซต์ถูกบล็อก เนื่องจากมีเนื้อหาที่เข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ การเคลื่อนไหวถูกมองโดยนักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชน ว่าเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่รณรงค์ร่วมกันเพื่อระงับการอภิปรายทางการเมืองภายในราชอาณาจักร[14]

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าตรวจค้นที่ทำการของเว็บไซต์ประชาไท ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ออนไลน์ที่คอยจ้องจับผิดรัฐบาล หนังสือพิมพ์ฉบับนี้อยู่บนพื้นฐานของการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ 2 วันถัดมา อภิสิทธิ์ไปพบกับตัวแทนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไทยและสัญญาว่าจะเคารพสิทธิเสรีภาพของพลเมือง ที่แสดงสีหน้าในขณะที่มีการพัฒนาบรรทัดฐานและมาตรฐานใหม่[15]

นายสือ ล้ออุทัย ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า กระทรวงได้ขออำนาจศาลสั่งปิดเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหมิ่นสถาบันเบื้องสูงไป 2,700 เว็บไซต์ ขั้นตอนต่อไปกระทรวงจะแจ้งให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรับทราบเพื่อดำเนินการปิดกั้น จากนั้นจะตรวจสอบว่ายังมีช่องทางใดสามารถเข้าถึงเว็บดังกล่าวได้อีก

ก่อนหน้านี้เครือข่ายพลเมืองเน็ตได้ไปยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีให้เร่งแก้กฎหมายคอมพิวเตอร์บางมาตราที่ยังคลุมเครือ และมีผลต่อการดำเนินคดีหากเกิดความผิด ซึ่งนายกรัฐมนตรีบอกว่ายังไม่มีนโยบายแก้กฎหมายฉบับดังกล่าว ซึ่งสวนทางกับความเห็นของรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม ที่ยอมรับว่า พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ที่บังคับใช้อยู่จะต้องปรับแก้บางมาตรา เพื่อให้บังคับใช้ถูกจุดมากขึ้น จึงควรหารือเรื่องนี้ให้ชัดเจน [16]

สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยถึงกรณีการกระทำผิดเผยแพร่ข้อความหมิ่นสถาบันเบื้องสูงผ่านเว็บไซต์ว่า ตรวจพบเว็บเข้าข่ายหมิ่นสถาบันประมาณ 30 เว็บ ส่วนใหญ่จะเป็นคนที่เคยทำผิด จะเป็นกลุ่มเครือข่ายเดิมที่เคยเปิดเว็บหมิ่นเบื้องสูงแล้วถูกสั่งปิดไปแล้วก็จะมีผุดขึ้นมาใหม่อีก จัดทำเป็นหน้าเว็บใหม่ ซึ่งทำกันได้ง่าย ซึ่งตรงนี้ สทส.มีเจ้าหน้าที่ประจำหน้าจอเฝ้าคอยตรวจสอบตลอด 24 ชม. เมื่อเจอข้อความหมิ่นจะตอบโต้โพสต์ข้อความกลับไปในสิ่งที่ถูกต้องเป็นจริง พร้อมทั้งทาง สทส.ก็จะมีเจ้าหน้าที่ส่วนหนึ่งคอยเผยแพร่พระราชกรณียกิจต่างๆ ในหน้าเว็บของ สทส.มากขึ้น อีกทั้งทำหนังสือเวียนถึงข้าราชการตำรวจและครอบครัว หากพบเห็นข้อความจาบจ้วงหมิ่นเบื้องสูง และมีการโพสต์รูปภาพเผยแพร่ทำผิดกฎหมาย ให้แจ้งเบาะแสได้ทันที[17]

ชิงชัย มงคลธรรม หัวหน้าพรรคความหวังใหม่ แนะรัฐบาลถวายคืนพระราชอำนาจ ให้กองทัพเร่งกู้ชาติหยุดปราบประชาชน พร้อมยืนยันจุดยืนยุติปัญหาต้อง ตั้งการปกครองเฉพาะกาล โดยเอาคู่ขัดแย้งออกจากสถานการณ์การเมืองที่มุ่งแย้งชิงอำนาจ ส่วนกรณีที่แกนนำ นปช.และกลุ่มนักวิชาการออกมาเรียกร้องให้องค์การสหประชาชาติ เข้ามาเป็นตัวกลางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งนั้น ไม่เห็นด้วย เพราะเป็นการแทรกแซงกิจการภายในประเทศ และ ประเทศไทยเป็น ราชอาณาจักร มีความมั่นคงทางทหาร การที่มีการนำเสนอแนวทางนี้หากเกิดขึ้นจริง จะเป็นคนแรกที่จะไปขับไล่ทันที[18]

สนธิ ลิ้มทองกุล เผยในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ครั้งที่ 8 ว่ายันยังไม่มีพระบรมราชานุญาตให้นายกฯเป็นประธานในพระอุโบสถวัดพระแก้ว พร้อมแสดงหลักฐานการมี “สังฆราช 2 พระองค์” ปิดท้ายนำประชาชนยืนกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณถวายคืนพระราชอำนาจแด่พระเจ้าอยู่หัว เพื่อขอพระราชทานผู้นำปฏิรูปการเมือง และจัดโครงสร้างองค์กรการเมืองใหม่โดยสันติวิธี [19]

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 กระทรวงการต่างประเทศของไทย มีคำสั่งเรียกเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงพนมเปญกลับประเทศ เพื่อเป็นการลดระดับความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชา ตอบโต้การให้สัมภาษณ์กล่าวหากระบวนการยุติธรรมของไทย และเป็นการแทรกแซงกิจการภายในประเทศ จากกรณีที่กัมพูชาแต่งตั้งพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ ซึ่งทักษิณ ถือเป็นนักโทษที่ประเทศไทยต้องการตัวตามหมายจับในคดีทุจริตประมูลซื้อที่ดินรัชดาภิเษก ซึ่งมีโทษจำคุก 2 ปี[20]

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 นายกษิต ภิรมย์ได้แถลงด้วยวาจาต่อประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่นครนิวยอร์ก ในถ้อยแถลงการณ์ของรัฐมนตรีต่างประเทศระบุใจความตอนหนึ่งว่าฝ่ายกัมพูชาละเมิดข้อตกลงหยุดยิง ที่ได้ตกลงกันใน วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ณ ช่องสะงำในจังหวัดศรีสะเกษ ที่ทั้งสองฝ่ายได้บรรลุข้อตกลงที่จะหยุดยิงทันที ผู้บังคับการทหารระดับภูมิภาคของไทยและฝ่ายกัมพูชา เป็นตัวแทนเจรจา อีกทั้งได้ประณามทหารกัมพูชาในการใช้ปราสาทพระวิหารเพื่อวัตถุประสงค์ทางการทหาร และประณามรัฐบาลกัมพูชาที่มีส่วนรู้เห็นในการอนุญาตให้ใช้ปราสาทพระวิหารเพื่อวัตถุประสงค์ทางการทหาร[21]

เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2554 ทางกระทรวงต่างประเทศไทยส่งหนังสือประท้วงอย่างรุนแรงที่สุดผ่านเอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทย จากเหตุการณ์ปะทะที่จังหวัดสุรินทร์และจังหวัดบุรีรัมย์ จนเป็นเหตุให้ต้องประเทศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ อันเนื่องจากกองกำลังจากนอกประเทศ ในบางอำเภอของจังหวัดดังกล่าว[22]

เช็คช่วยชาติ

วิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกได้สร้างผลกระทบอย่างมากต่อประเทศไทย จำนวนผู้ว่างงานในเดือนมกราคม 2552 เพิ่มขึ้นเป็น 800,000 คน โดยเปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม 2551[23] ในต้นปี พ.ศ. 2552 เศรษฐกิจถูกคาดหวังว่าจะว่าจ้างตามสัญญา 3% ตลอดทั้งปี[24] เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยสร้างกำลังซื้อภายในประเทศในวงกว้างอย่างทั่วถึง เห็นผลเร็วและรั่วไหลน้อยที่สุด เพื่อพยุงเศรษฐกิจช่วงเวลาที่เศรษฐกิจหดตัวในระยะเร่งด่วน โดยการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศโดยนำเงินใส่มือประชาชนผู้มีรายได้น้อยโดยตรง รายละ 2,000 บาท (สำหรับผู้ที่มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท)[25]


ความไม่สงบในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2552

ความไม่สงบในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2553

ดูบทความหลักที่การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 และ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน

การประกาศกฎอัยการศึกในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

ภายใต้รัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีการประกาศกฎอัยการศึกครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้แก่ นราธิวาส ปัตตานี และยะลา ในวันที่ 21เมษายน พ.ศ..2554 แม่ทัพภาคที่ 4ในขณะนั้น เห็นควรให้ประกาศกฎอัยการศึกในพื้นที่ดังกล่าวอย่างไรก็ตามการประกาศกฎอัยการศึกภายในราชอาณาจักรไทยสามารถประกาศไทยโดยแม่ทัพภาคหรือผู้บัญชาการทหาร และสามารถนำมาใช้ได้ในทันทีโดยไม่ต้องแจ้งให้นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐทนตรีทราบ ดังนั้นจึงไม่ใช่ความรับผิดชอบของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี[26]

ใกล้เคียง

คณะรัฐมนตรีไทย คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63 คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 62 คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 60 คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 59 คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 54 คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 56 คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 61 คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 55 คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 57

แหล่งที่มา

WikiPedia: คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 59 http://www.bangkokbiznews.com/home/news/it/it/2009... http://www.bangkokpost.com/news/local/12750/abhisi... http://www.chuaichart.com/projects/cheque/ http://www.krabiunited.com/index.php?app=news&fnc=... http://nationmultimedia.com/2008/11/19/politics/po... http://nationmultimedia.com/2009/04/06/opinion/opi... http://www.nationmultimedia.com/worldhotnews/read.... http://news.sanook.com/1021661-%E0%B8%99%E0%B8%B2%... http://www.thairath.com/news.php?section=politics&... http://www.thairath.com/news.php?section=politics&...